Support
greenenergy
0915541422
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

Flourish spa and slim herbal hot cream chilli oil and green tea ชาเขียวสมุนไพร

suphasak | 17-11-2558 | เปิดดู 457 | ความคิดเห็น 0

 

ชาเขียว Green Tea

Flourish spa and slim herbal hot cream  chilli oil and green tea.

ชาเป็นเครื่องดื่มที่กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มการบริโภคที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบันการผลิต ชาเขียวในรูปแบบของการเป็นเครื่องดื่มสำเร็จรูปก็มีจำหน่ายกันอย่างแพร่หลาย ทำให้สะดวกต่อการบริโภค และด้วยรสชาติที่ความอร่อย ทำให้รู้สึกสดชื่น รวมไปถึงการโฆษณาของผลิตภัณฑ์ชาเขียว หรือมีข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสรรพคุณของการดื่มชาเขียวที่มีต่อร่างกายมากมาย เหล่านี้จึงเป็นแรงจูงใจทำให้กระแสการบริโภคชาเขียวเพิ่มขึ้น จนอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม หรือบริโภคในปริมาณที่สูงเกินไปโดยไม่ทราบถึงผลกระทบต่อร่างกาย ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรทราบถึงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับชาเขียว ว่าจะต้องเลือกบริโภคอย่างไรถึงจะได้ประโยชน์อย่างสูงสุด และไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย

ชาเขียว (Green tea) คือ ชาที่ได้มาจากต้นชา ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis ซึ่งชาชนิดนี้จะไม่ผ่านขั้นตอนการหมักเลย เตรียมได้โดยการนำใบชาสดมาผ่านความร้อนเพื่อทำให้ใบชาแห้งอย่างรวดเร็ว ซึ่งวิธีการก็คือเมื่อเก็บใบชามาแล้วก็นำมาทำให้แห้งอย่างรวดเร็วในหม้อทองแดงโดยใช้ความร้อนไม่สูงเกินไปและใช้มือคลึงเบา ๆ ก่อนแห้ง หรืออบไอน้ำในระยะเวลาสั้น ๆ แล้วนำไปอบแห้งเพื่อยับยั้งการทำงานเอนไซม์ (ความร้อนจะช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทำให้ไม่เกิดการสลายตัว) จึงได้ใบชาที่แห้งแต่ยังสดอยู่ และมีสีที่ค่อนข้างเขียว จึงเรียกกันว่า ชาเขียวและการที่ใบชาที่ได้นั้นไม่ผ่านขั้นตอนการหมัก จึงทำให้ใบชามีสารประกอบฟีนอล (Phenolic compound) หลงเหลืออยู่มากกว่าในอู่หลงและชาดำ (สองชนิดนี้คือชาที่ผ่านการหมัก) จึงทำให้ชาเขียวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาทั้งสอง โดยชาเขียวจะมีสาร EGCG ประมาณ 35-50% ส่วนชาอู่หลงมีประมาณ 8-20% และชาดำจะมี EGCG อยู่เพียง 10%

ชาเขียวที่มีคุณภาพจะได้จากใบชาคู่ที่หนึ่งและใบชาคู่ที่สองที่เก็บจากยอด (ชาวจีนเรียกว่า บู๋อี๋”) ส่วนใบชาคู่ที่สามและสี่จากยอดจะให้ชาชั้นสอง (ชาวจีนเรียกว่า อันเคย”) ส่วนใบชาคู่ที่ห้าและหกจากปลายยอดจะเป็นชาชั้นเลว (ชาวจีนเรียกว่า ล่ำก๋อง”)สำหรับสี กลิ่น และรสชาติของชานั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณของสารคาเทชินที่มีอยู่ในชา โดยฤดูการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว จะมีผลต่อระดับของสารคาเทชิน ซึ่งในใบชาฤดูใบไม้ผลิจะมีสารคาเทชินประมาณ 12-13% ในขณะที่ชาในฤดูร้อนจะมีสารคาเทชินประมาณ 13-14% (ใบชาอ่อนจะมีสารคาเทชินมากกว่าใบชาแก่)

 

สารสำคัญที่พบได้ในชาเขียว จะประกอยไปด้วย กรดอะมิโน วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี สารในกลุ่ม xanthine alkaloids คือ คาเฟอีน (caffeine) และธิโอฟิลลีน (theophylline) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ที่เรียกว่า คาเทชิน (catechins) โดยเราสามารถแยกสารคาเทชินออกได้เป็น 5 ชนิด คือ gallocatechin (GC), epicatechin (EC), epigallocatechin (EGC), epicatechin gallate (ECG), และ epigallocatechin gallate (EGCG) โดยคาเทชินที่พบได้มากและมีฤทธิ์ทรงพลังที่สุดในชาเขียว คือ สารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (epigallocatechin gallate – EGCG) ซึ่งมีความสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

ลักษณะของสีน้ำชา ถ้าชงชาจากใบชาจะให้น้ำชาออกสีเหลืองอ่อนไปจนถึงสีเขียวอ่อน (ถ้าเป็นชาเขียวผง หรือชามัตชะ จะให้น้ำชาสีเขียวสด) ส่วนกลิ่นของน้ำชานั้น ถ้าเป็นชาเขียวของจีนจะให้กลิ่นเขียวสดชื่น มีกลิ่นคล้ายกลิ่นถั่วปนอยู่ แต่ถ้าเป็นชาเขียวของญี่ปุ่นจะให้กลิ่นเขียวสดค่อนข้างมาก มีกลิ่นของสาหร่าย และอาจมีกลิ่นคล้ายกับโชยุปนอยู่ด้วย

สรรพคุณของชาเขียว

 

1.   ชาเขียวถูกนำมาใช้ในการรักษาตั้งแต่โรคปวดศีรษะไปจนถึงโรคซึ่มเศร้า ซึ่งในประเทศจีนมีการใช้ชาเขียวเป็นยามามากกว่า 4,000 ปีแล้ว

2.   ช่วยทำให้เจริญอาหาร

3.  แก้เมาเหล้า ทำให้สร่างเมา

4.   ช่วยแก้หวัด แก้ร้อนใน ช่วยขับเหงื่อ ขับสารพิษตกค้าง

5.   ช่วยให้ผ่อนคลายอารมณ์ สงบประสาท ระบายความร้อนจากศีรษะและเบ้าตา ทำให้สดชื่น ตาสว่าง ไม่ง่วงนอน และช่วยทำให้หายใจสดชื่น

6.   ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ ระบายความร้อนออกจากปอด และช่วยขับเสมหะ

7.   ช่วยแก้บิด ท้องร่วง ท้องเสีย

8.   ช่วยเพิ่มแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ จึงสามารถช่วยล้างสารพิษและกำจัดพิษในลำไส้ได้

9.   ช่วยป้องกันตับจากพิษและโรคอื่น ๆ

10.         ช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด

11.         ชาเขียวมีฤทธิ์ต้านอาการอักเสบ ต้านเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ต้านเชื้อ Botulinus และเชื้อ Staphylococcus

12.         ช่วยขับปัสสาวะ ป้องกันนิ่วในถุงน้ำดีและในไต

13.         ช่วยในการห้ามเลือดหรือทำให้เลือดไหลช้าลง

14.         ใช้เป็นยาพอกรักษาแผลอักเสบ แผลพุพอง ไฟไหม้ ฝีหนอง ช่วยบรรเทาอาการผดผื่นคัน ผิวร้อนแห้ง แมลงสัตว์กัดต่อย และยังใช้เป็นยากันยุงได้อีกด้วย

15.         ชาเขียวสามารถช่วยป้องกันโรคข้ออักเสบรูมาติก (Rheumatic arthritis) ซึ่งมีอาการอักเสบบวมแดง ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ ที่มักเกิดกับสตรีวัยกลางคน

นายมานพ เลิศสุทธิรักษ์ นายกสมาคมแพทย์แผนจีน ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชาเขียวว่า การนำชาเขียวมาใช้ควบคู่กับพืชสมุนไพรชนิดอื่น ๆ จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรักษาโรคที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งมีวิธีดังต่อไปนี้ คือ

·         ใช้ชาเขียวร่วมกับขึ้นฉ่าย จะช่วยลดความดันโลหิต

·         ใช้ชาเขียวร่วมกับไส้หมาก จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด

·         ใช้ชาเขียวร่วมกับหนวดข้าวโพด จะช่วยลดความดันโลหิต ลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด และช่วยลดอาการบวมน้ำ

·         ใช้ชาเขียวร่วมกับตะไคร้ ตะช่วยขับไขมันในเส้นเลือด

·         ใช้ชาเขียวร่วมกับเม็ดเก๋ากี้ จะช่วยลดความอ้วน แก้ตาฟาง

·         ใช้ชาเขียวร่วมกับใบหม่อน จะช่วยป้องกันโรคหวัด ลดไขมันในเส้นเลือดได้ดี

·         ใช้ชาเขียวร่วมกับหัวต้นหอม จะช่วยแก้ไข้หวัดและช่วยขับเหงื่อ

·         ใช้ชาเขียวร่วมกับดอกเก๊กฮวยสีเหลือง จะช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ ตาลาย

·         ใช้ชาเขียวร่วมกับเนื้อลำไยแห้ง จะช่วยบำรุงสมอง และเสริมสร้างความจำ

·         ใช้ชาเขียวร่วมกับโสมอเมริกา ทำให้สดชื่น แก้คอแห้ง และช่วยบำรุงหัวใจ

·         ใช้ชาเขียวร่วมกับบ๊วยเค็ม จะช่วยบรรเทาอาการคอแห้ง แสบหอ เสียงแหบ

·         ใช้ชาเขียวร่วมกับขิงสด จะช่วยรักษาอาการอาหารเป็นพิษและจุกลม

·         ใช้ชาเขียวร่วมกับลูกเดือย จะช่วยลดอาการบวมน้ำ ตกขาว มดลูกอักเสบ

·         ใช้ชาเขียวร่วมกับน้ำตาลกลูโคส จะช่วยบรรเทาอาการตับอักเสบ

·         ใช้ชาเขียวร่วมกับเม็ดบัว จะช่วยบรรเทาอาการฝันเปียก และยับยั้งการหลั่งเร็วของสุภาพบุรุษ

 

 

 

ประโยชน์ของชาเขียว

1.   สาร epigallocatechin gallate (EGCG) ที่พบได้มากในชาเขียว มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการขับสารพิษในร่างกาย สามารถกวาดล้างอนุมูลอิสระที่เป็นตัวกัดกร่อน DNA ในกระแสเลือดลงได้ จึงส่งผลในการช่วยป้องกันความเสื่อมของเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย จนมีสุภาษิตจีนโบราณที่กล่าวไว้ว่า ขาดอาหารสามวันยังดีเสียกว่า ขาดชาเพียงวันเดียวและชาเขียวยังมีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้อยู่ในภาวะเครียดจากการทำงานสูง และผู้ที่อยู่ในโปรแกรมการกำจัดไขมันหรือลดน้ำหนักดังจะได้กล่าวในข้อถัดไป

2.   มีการพิสูจน์แล้วว่าสารต้านอนุมูลอิสระในชาเขียวสามารถช่วยชะลอความแก่ชราและช่วยคงความอ่อนเยาว์ไว้ได้

3.   แม้ว่าในอาหารอื่น ๆ จะมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี วิตามินบี เบต้าแคโรทีน แต่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะพบว่าคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระของโพลีฟีนอลในชาเขียวจะเหนือกว่า

4.   การดื่มชาเขียวนอกจากจะดื่มเพื่อแก้กระหายแล้ว ในชาเขียวยังมีคาเฟอีน (Caffeine) และธิโอฟิลลีน (Theophylline) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ที่ช่วยแก้อาการง่วงนอนและทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า คาเฟอีนยังช่วยกระตุ้นสมอง เพิ่มสมาธิ เพิ่มอัตราการเผาผลาญในร่างกาย เพิ่มความดันโลหิต ช่วยระทำให้ระบบหมุนเวียนโลหิตทำงานดีขึ้น และยังมีสารจำพวก alcohol และ aldehyde ที่มีกลิ่นหอมทำให้รู้สึกผ่อนคลาย

5.   มีงานวิจัยมากมายที่สนับสนุนได้ว่าการดื่มชาเขียวจะช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานและไขมันได้ จึงส่งผลต่อการควบคุมน้ำหนักของร่างกาย และยังมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า การดื่มชาเขียวสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมได้ และยังช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL) เพิ่มไขมันดี (HDL) ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนั้นการดื่มชาเขียวจึงสามารถช่วยลดความอ้วนได้ โดยมีรายงานการทดลองที่แสดงให้เห็นว่าอาสาสมัครชาวญี่ปุ่นที่ดื่มชาเขียววันละ 9 ถ้วย สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลได้เฉลี่ย 8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ส่วนผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเจนีวา ในสวิสเซอร์แลนด์ ที่ได้ตีพิมพ์ลงในวารสาร The American Journal of Clinical Nutrition ในเดือนพฤศจิกายน ปี 1999 นักวิจัยได้พบว่า ผู้ที่ดื่มคาเฟอีนและชาเขียว จะมีอัตราการเผาผลาญแคลอรี่มากกว่าคนที่ได้รับคาเฟอีนเพียงอย่างเดียว ในขณะที่อีกงานวิจัยหนึ่งได้พบว่า คนที่มีระดับคอเลสเตอรอลค่อนข้างสูง เมื่อเสริมด้วยชาสกัดจากชาเขียวและชาดำ เป็นเวลานาน 3 เดือน จะมีระดับคอเลสเตอรอลที่ลดลงถึง 16% แต่สิ่งที่น่าใจก็คือ ผลการวิจัยโดยใช้แต่สารสกัดจากชาเขียว ไม่พบว่าช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าการเติมชาดำเข้าไปจะทำให้ผลวิจัยประสบความสำเร็จ

6.   ชาเขียวกับการลดน้ำหนัก การดื่มชาเขียววันละ 2 ถ้วย สามารถช่วยลดการเกิดไขมันส่วนเกินและทำให้รู้สึกอิ่มได้ ซึ่งจากการทดลองในหนูทดลอง โดยให้หนูบริโภคอาหารตามปกติและเสริมด้วยสารสกัดจากเชียว พบว่าการสะสมของไขมันในหนูทดลองลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่เมื่อให้อาหารเสริมชาเขียวต่อไปนาน ๆ ปริมาณของไขมันกลับไม่ลดลงต่ำจนผิดปกติ ส่วนการศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง โดยการให้รับประทานชาเขียวสกัดวันละ 1,500 มิลลิกรัม ติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีน้ำหนักตัวลดลงโดยรวมประมาณ 4.6% หรือประมาณ 3.5 กิโลกรัม และรอบเอวลดลงโดยรวม 4.48% หรือประมาณ 1.6 นิ้ว จากการศึกษานี้ยังได้สรุปถึงกลไกการทำงานของชาเขียวสกัดในการลดน้ำหนักไว้ว่า เขียวสามารถช่วยยับยั้งเอนไซม์ไลเปสจากกระเพาะอาหารและตับอ่อน ทำให้การย่อยไขมันลดลง ส่งผลให้ไขมันดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อยลง จึงช่วยลดการสะสมของไขมันใหม่ได้ อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นระบบการเผาผลาญในร่างกาย โดยการยับยั้งเอนไซม์ที่จะไปทำลาย Norepinephrine จึงทำให้ Norepinephrine อยู่ในร่างกายและออกฤทธิ์ได้นานขึ้น ส่งผลทำให้การเผาผลาญไขมันในร่างกายมีเพิ่มมากขึ้น

7.   สาร EGCG สามารถช่วยกำจัดไขมันคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด จึงส่งผลช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงจากการอุดตันของไขมันในหลอดเลือดได้

8.   ช่วยลดและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จึงช่วยในการป้องกันและชะลอการเกิดโรคเบาหวานได้ เพราะสาร catechins ในชาเขียวมีประสิทธิภาพในการจำกัดการทำงานของ amylase enzyme ทำให้ไม่สามารถดูดซึมน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่ร่างกายได้ ส่งผลทำให้น้ำตาลในเลือดไม่สูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการทดสอบในหนูทดลองที่พบว่า catechins สามารถช่วยลดระดับกลูโคสและระดับอินซูลินในเลือดได้ และเมื่อทำการวิจัยกับอาสาสมัครโดยให้ catechins ในขนาด 300 มิลลิกรัม แล้วตามด้วยการบริโภคแป้งข้าว 50 กรัม พบว่าระดับของกลูโคสและระดับของอินซูลินในเลือดไม่สูงขึ้นตามที่ควรจะเป็น

9.   การดื่มชาเขียวมีผลช่วยลดอัตราความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่าง ๆ ได้ โดยผู้ที่ดื่มชาเขียวเป็นประจำจะมีอัตราการเป็นมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับอ่อนต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้ดื่ม โดยมีสาร EGCG เป็นสารต้านพิษ และช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็ง โดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อส่วนดี (แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันได้ว่าชาเขียวสามารถรักษาโรคมะเร็งได้) ซึ่งในปี 1994 วารสารของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าการดื่มชาเขียวสามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงของโรคมะเร็งหลอดอาหารในหมู่ชาวจีนทั้งหญิงและชายได้เกือบถึง 60% ส่วนนักวิจัยจากมหาวิทยาปูร์ดู ได้สรุปว่า สารประกอบในชาเขียวสามารถช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ส่วนนิตยสาร Herbs for Health ได้อ้างตัวอย่างรายงานจากญี่ปุ่นว่าคนที่ดื่มชาเขียว 10 แก้วต่อวัน จะปลอดโรคมะเร็งนานกว่าคนที่ดื่มชาเขียวน้อยกว่า 3 แก้วต่อวัน ถึง 3 ปี (ในชาเขียว 3 แก้ว มีโพลีฟีนอลประมาณ 240-320 มิลลิกรัม) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นที่สถาบันวิจัยมะเร็ง Saitama ที่สรุปว่า การเกิดโรคมะเร็งเต้านมหรือการขยายตัวของโรคนั้นจะน้อยลง หากในประวัติผู้หญิงคนนั้นมีการดื่มชาเขียว 5 ถ้วย หรือมากกว่านั้นต่อวัน และจากรายงานการแพทย์ของญี่ปุ่นในปี ค.ศ.1982 และ 1987 ได้พบว่าในแถบจังหวัดมิซูโอกะ ซึ่งเป็นถิ่นที่มีการดื่มชาเขียวกันมาก มีอัตราการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย ส่วนรายงานจากทีมวิทยาศาสตร์จากศูนย์กลางการวิจัยโรคมะเร็ง ในบริติช โคลัมเบีย ได้สรุปว่าสารคาเทชินในชาเขียวสามารถยับยั้งการสร้างไรโตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งได้ นอกจากนี้ยังมีการการทดลองในหนูทดลองเพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ โดยให้หนูทดลองบริโภคสารละลายโพลีฟีนอลแต่ละชนิด และฉีดสารก่อมะเร็งเอ็นเอ็นเคเข้าไป ผลปรากฏว่าสารโพลีฟีนอล EGCG ที่พบมากในชาเขียวสามารถลดอัตราการก่อตัวเป็นมะเร็งได้ดีที่สุด โดยนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า catechins มีบทบาทช่วยลดภาวะเป็นพิษของสารก่อมะเร็งบางชนิด แทรกแซงกระบวนเกาะยึดตัวของสารก่อมะเร็งต่อ DNA ของเซลล์ปกติ มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลัง ช่วยเสริมการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระและเอนไซม์อื่น ๆ และช่วยจำกัดการลุกลามของเซลล์เนื้องอก

10.         การวิจัยเมื่อปี 1997 ของมหาวิทยาลัยแคนซัส ได้สรุปว่า EGCG นั้นมีฤทธิ์แรงเท่ากับ Resveratrol ถึงเกือบ 2 เท่า ซึ่งเป็นการอธิบายว่า ทำไมชาวญี่ปุ่นจึงมีอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจค่อนข้างต่ำ แม้ว่ามากกว่า 75% ของชาวญี่ปุ่นจะสูบบุหรี่ก็ตาม แล้วทำไมชาวฝรั่งเศสจึงมีอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจน้อยกว่าชาวอเมริกัน ทั้ง ๆ ที่บริโภคอาหารที่มีไขมันสูงเช่นกัน สาเหตุก็เป็นเพราะชาวฝรั่งเศสชอบดื่มไวน์แดง ซึ่งมีสาร Resveratrol ที่เป็นโพลีฟีนอล ที่ช่วยลดอันตรายจากการสูบบุหรี่และรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงนั่นเอง

11.         ชาเขียวมีฤทธิ์ต่อต้านและยับยั้งการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ จากข้อมูลในปัจจุบันได้แนะนำว่าการบริโภคอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสามารถช่วยลดการเกิดโรคหัวใจ เพราะสารต้านอนุมูลอิสระจะไปยับยั้งขบวนการออกซิเดชั่นของไขมัน อันจะนำไปสู่การลดการลดการเกิดของหลอดเลือดแข็งตัว (antherosclerosis) และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้ในที่สุด

12.         สาร EGCG สามารถช่วยยับยั้งการก่อตัวแบบผิดปกติของก้อนเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการหัวใจวายและลมชักได้ และจากผลการวิจัยอื่น ๆ ยังพบอีกว่าชาเขียวนั้นมีสรรพคุณเทียบเท่ากับยาแอสไพรินในการยับยั้งการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคหัวใจวายและหลอดเลือดสมอง

13.         สารไทอะนีน (Theanine) เป็นกรดอะมิโนที่ทำชาเขียวมีรสกลมกล่อม สามารถช่วยควบคุมการทำงานของสมองและลดความดันโลหิตได้

14.         นอกจากชาเขียวจะมีสาร EGCG แล้ว ชาเขียวยังมีสารอื่น ๆ ที่สำคัญอีกมากมาย เช่น วิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นต่อร่างกาย สารคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ที่มีประโยชน์ต่อขบวนการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง และช่วยในการจับสารพิษตกค้างออกจากร่างกาย

15.         มหาวิทยาลัย Cleveland’s Western Reserve ได้สรุปว่า การดื่มชาเขียว 4 แก้วหรือมากกว่านั้น จะช่วยป้องกันโรคปวดข้อหรือลดอาการปวดในกรณีของคนที่ป่วยอยู่แล้ว

16.         เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการศึกษาที่พบว่า สารประกอยหลัก (EGCG) ที่พบในชาเขียวมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ ซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาภูมิคุ้มกันทางการแพทย์และโรคภูมิแพ้ โดยผลการทดลองได้แสดงให้เห็นว่า ชาเขียวเข้มข้นสามารถช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเอชไอวีจับตัวกับเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดที่มีความสำคัญต่อภูมิคุ้มกันในร่างกายของเรา (T cells) ซึ่งเป็นด่านแรกที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีได้ ถ้ามีผลการศึกษาเพิ่มเติมยืนยันการวิจัยดังกล่าว ก็อาจจะนำสารในชาเขียวมาใช้ทดลองในการผลิตยาเพื่อป้องกันการลุกลามของเชื้อเอชไอวีต่อไป

17.         จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในฮ่องกง ได้พบว่าสารคาเทาชินสามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของกระดูกได้ถึง 79% โดยไม่มีอันตรายใด ๆ ต่อกระดูก ดังนั้นการดื่มชาเขียวอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพของกระดูก ช่วยป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนหรือโรคทางกระดูกอื่น ๆ ได้

18.         ชาเขียวยังช่วยป้องกันฟันผุได้ด้วย เพราะชาเขียวมีความสามารถในการทำลายแบคทีเรีย สามารถป้องกันอาหารเป็นพิษ และยังช่วยฆ่าแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดคราบพลัคในช่องปากได้อีกด้วย ซึ่งจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่า สาร catechins สามารถช่วยยับยั้งกระบวนการผลิตกลูแคนของเชื้อ Streptococcus mutans ในช่องปากได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เชื้อชนิดนี้เป็นสาเหตุของการเกิดฟันผุ) จึงอาจกล่าวได้ว่าการดื่มชาเขียวหลังมื้ออาหารจะสามารถป้องกันโรคฟันผุได้เป็นอย่างดี

19.         ชาเขียวสามารถช่วยลดกลิ่นปากและแบคทีเรียในช่องปากได้ โดยช่วยทำให้ลมหายใจหอมสดชื่นและป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยเพส สหรัฐอเมริกา พบว่าสารสกัดจากชาเขียวมีสรรพคุณช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ

20.         มีงานวิจัยที่ระบุว่าถุงชา (tea bag) สามารถช่วยบำบัดโรค “sick-house syndrome” หรือ มลภาวะภายในอาคารเป็นพิษ (Indoor Air Pollution) ซึ่งเป็นอาการป่วยที่มีสาเหตุมาจากการแพ้อากาศภายในอาคารหรือที่อยู่อาศัย เช่น สารเคมีจากสีทาบ้าน เฟอร์นิเจอร์ที่มีสาร formaldehyde ซึ่งผสมอยู่ในสารเคมีเพื่อการตกแต่งบ้าน ซึ่งจากการทดลองพบว่าใบชาเขียวหรือดำ ทั้งใหม่และแบบที่ชงแล้ว สามารถช่วยดูดสารนี้ไว้แล้วไม่ปลดปล่อยสารกลับเข้าสู่บรรยากาศหลังจากดูดไว้แล้ว วิธีการก็ถือให้ทิ้งใบชาไว้ที่อับ เช่น ในตู้เก็บถ้วยชาม ใบชาจะลดปริมาณของสาร formaldehyde ที่มีอยู่ในอากาศได้ชาเขียวยังช่วยรักษาผิวที่ถูกแสงแดดทำลายได้ด้วย นี่จึงเป็นเหตุว่าทำไมครีมหลายชนิดจึงมีชาเขียวส่วนประกอบ

21.         ชาเขียวกับความงาม สูตรน้ำแร่ชาเขียว ชั้นตอนแรกให้นำน้ำแร่มาต้มให้เดือด แล้วใส่ผงชาเขียวหรือใบชาเขียวลงไป แล้วทิ้งไว้ให้เย็น (ถ้าใช้ใบชาควรกรองเอาแต่น้ำ) เสร็จแล้วเทน้ำใส่ขวดสเปรย์ ใช้เป็นสเปรย์น้ำแร่ชาเขียว โดยนำมาใช้ฉีดหน้าได้ทุกเวลาที่ต้องการ โดยจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นและความเปล่งปลั่งให้กับผิวหน้าของคุณได้เป็นอย่างดี ส่วนอีกสูตรคือ สูตรถนอมผิวรอบดวงตาด้วยชาเขียว ขั้นตอนแรกให้ต้มชาเขียวกับน้ำเดือด แล้วนำไปแช่ในตู้เย็นให้เย็นจัด แล้วใช้สำลีชุบชาเขียวให้เปียกชุ่ม แล้วนำมาวางบริเวณเปลือกตาทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที วิธีนี้จะช่วยลดริ้วรอยจากความอ่อนล้าของผิวรอบดวงตา และยังช่วยลดอาการบวมของเปลือกตาและถุงใต้ตาได้ด้วย ซึ่งจะช่วยทำให้ผิวนุ่มนวลและดูสดชื่น

22.         ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับชาเขียวก็มีวางจำหน่ายในหลากหลายรูปแบบ โดยผู้ผลิตได้คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากชาเขียวหลั่งไหลออกมาสู่ท้องตลาดเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ถนอมผิว เครื่องสำอางต่าง ๆ สบู่ เกลืออาบน้ำ น้ำยาดับกลิ่นตัว ครีมบำรุงผิว โลชั่น ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ฯลฯ

23.         ชาเขียวยังนิยมนำมาใช้เพื่อปรุงแต่งกลิ่น สี และรสชาติของอาหาร เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค โดยจัดเป็นสารให้กลิ่นรสจากธรรมชาติที่ได้รับความนิยมมากชนิดหนึ่ง ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของชาเขียวรูปของอาหาร ได้แก่ เค้ก ขนมปัง ขนมขบเคี้ยว ช็อกโกแลต ลูกอม หมากฝรั่ง ฯลฯ และยังถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันและน้ำมัน เพื่อป้องกันไม่ให้เหม็นหืนเร็ว จนมีการศึกษาวิจัยถึงความเป็นไปได้ที่จะนำสารสกัดจากชาเขียวมาใช้เป็นสารกันบูดสำหรับอาหารสด รวมไปถึงการนำชาเขียวมาผสมกับเส้นใยผ้า สำหรับเสื้อผ้า ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น และยังมีการนำไปใช้เป็นส่วนผสมในแผ่นใยกรองอากาศสำหรับเครื่องปรับอากาศ ซึ่งก็นับว่าเป็นการเพิ่มช่องทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ได้

 
References :และขอบคุณข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทั้งหมด

1.    หนังสือวิตามินไบเบิล.  (ดร.เอิร์ล มินเดลล์).  “สารสกัดจากชาเขียว (Green tea extract)”.  หน้า 252-253.

2.    ศูนย์วิทยบริการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.  “ชาเขียวน้ำทิพย์แห่งชีวิต”. (นิสากร ปานประสงค์).,  “ชาเขียว สารอาหารมหัศจรรย์”. (เยาวลักษณ์ พิพัฒน์จำเริญกุล).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: elib.fda.moph.go.th.  [08 ส.ค. 2014].

3.    สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.  (ธิดารัตน์ จันทร์ดอน ).  “ชาเขียว ( Green Tea )… ดื่มอย่างไรให้ได้ประโยชน์”.  เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th.  [08 ส.ค. 2014].

4.    ฝ่ายส่งเสริมเกษตรชลประทาน กรมชลประทาน.  “ความมหัศจรรย์ของชาเขียว”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: irrigation.rid.go.th.  [08 ส.ค. 2014].

5.    คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.  (รศ.ดร.พิมลพรรณ พิทยานุกุล).  “ดื่มชาอย่างไรให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: irrigation.rid.go.th.  [08 ส.ค. 2014].

6.    สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.  (พญ.สายพิณ โชติวิเชียร, วรชาติ ธนนิเวศน์กุล).  “ชาเขียวไม่ว่าอะไรก็ต้องชาเขียวไว้ก่อน”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: nutrition.anamai.moph.go.th.  [08 ส.ค. 2014].

7.    สมิทธิ โชติศรีลือชา นิสิตสาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.  “ชาเขียว – Green Tea”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.student.chula.ac.th/~53373316/.  [08 ส.ค. 2014].

 

 

 

 

 

ความคิดเห็น

วันที่: Sat Apr 19 09:36:14 ICT 2025

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0